วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การสำรวจทรัพยากรโลกด้วยดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้วิวัฒนาการจากการได้รับภาพถ่ายโลก ภาพแรกจากการส่งสัญญาณภาพของดาวเทียม Explorer VI ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 ตั้งแต่นั้นมา การสำรวจโลกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ได้มีการพัฒนาเป็นลำดับทั้งระบบบันทึกข้อมูล และอุปการณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างมากมาย วิวัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สามารถจำแนกระดับของวิวัฒนาการได้ 2 ระดับ คือ
         1. ระดับวิจัยและพัฒนา (Research and Development)          2. ระดับปฏิบัติงาน (Operational)

..........ในระยะแรกดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปมีอายุปฏิบัติงานช่วงสั้น ต่อมาเป็นระบบอัตโนมัติเพื่อใช้งานในระดับปฏิบัติงาน รวมถึงระบบที่มีมนุษย์อวกาศควบคุมจนถึงปัจจุบัน ดาวเทียมจำนวนมากได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เพื่อประโยชน์ในด้านการสำรวจทรัพยากร โดยมีดาวเทียม LANDSAT เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรก ที่ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อ พ.ศ. 2515
วิธีการทำงาน          การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล Remote Sensing
         หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ
.................
วิถีการโคจร          ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun - Synchronous) เป็นวงโคจรในแนวเหนือ - ใต้ และผ่านแนวละติจูดหนึ่งๆ ที่เวลาท้องถิ่นเดียวกัน

ประโยชน์ที่ได้รับ (ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ)
         - ด้านการสำรวจพื้นที่ป่าไม้

         - ด้านการเกษตร
         - ด้านการใช้ที่ดิน
         
- ด้านธรณีวิทยา เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ หาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในดิน          - ด้านอุทกวิทยา เพื่อศึกษาสภาพและแหล่งน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน ฯลฯ

ตัวอย่างดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากร

         ดาวเทียม LANDSAT-7 ขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติสหรัฐอมริกา (National Aeronautic and Space Administration - NASA) โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์เป็นวงผ่านขั้นโลก ทำมุมเอียง 98 องศา ที่ระดับความสูง 705.3 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้เวลาในการโคจร 98.9 นาทีต่อรอบ ความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำ 16 วัน ความกว้างของการบันทึกข้อมูล 185 กิโลเมตร มีการติดตั้งอุปกรณ์บันทึกข้อมูลระบบ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM+) ซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าระบบ Thematic Mapper (TM) ของดาวเทียม LANDSAT-4, 5 และมีการพัฒนาเพิ่มเติมในบางส่วนสามารถถ่ายภาพได้ทั้งระบบบันทึกข้อมูล หลายช่วงคลื่น (Multispectral) และระบบบันทึกข้อมูลช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic)
ตัวอย่างดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากร
         ดาวเทียม SPOT-4 โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์แบบ Polar Orbit ทำมุมเฉียง 98 องศาที่ระดับความสูงประมาณ 830 กม. ใช้เวลา 101 นาทีต่อการโคจร 1 รอบ มีความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำ 26 วัน ดาวเทียม SPOT เป็นดาวเทียมที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ โดยมีอุปกรณ์ HRVIR ซึ่งพัฒนาจาก HRV และ Vegetation ซึ่งเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพบนดาวเทียม และสามารถปรับมุมกล้องให้มองไปทางด้านซ้ายหรือขวา ดังนั้นรูปแบบแนวถ่ายภาพจึงไม่คงที่ และสอดคล้องกับแนวโคจรดาวเทียม เช่น ในดาวเทียม LANDSAT แต่จะแปรเปลี่ยนไปขึ้นกับการโปรแกรมถ่ายภาพที่ควบคุมจากภาคพื้นดิน
         แม้ว่าโดยปกติดาวเทียมจะมีการโคจรกลับมาถ่ายภาพในแนวเดิมทุกๆ 26 วันแต่คุณสมบัติในการเอียงกล้างได้นี้ ช่วยให้การถ่ายภาพซ้ำของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เป็นไปได้อย่างถี่ขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาเปรียบเทียบเพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น