วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย

อันดับที่? 10 เกาะตะปู


เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยีจังหวัดพังงา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้

                                                           อันดับที่ 9? เกาะเต่า


เกาะเต่า มีพื้นที่อยู่ในฝั่งของทะเลอ่าวไทย และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะของ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เกาะเต่า จะมีลักษณะที่โค้งเว้า เหมือนกับเมล็ดถั่ว ซึ่งเกาะเต่า จะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี ระยะทางจากเกาะพงันถึงเกาะเต่า ประมาณสี่สิบห้ากิโลเมตร นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะเต่ายังมีเกาะนางยวนซึ่ง เป็นเกาะเล็กๆ ด้านตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต่า มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง

                                       อันดับที่ 8? อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์




อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

                                                              อันดับ 7 หัวหิน




หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า “บ้านสมอเรียง” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน


                                                                อันดับ 6 พัทยา




พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ เมืองพัทยา ฉบับ วันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่า
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย มีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน


                                                           อันดับที่ 5 เกาะ ช้าง



เกาะ ช้าง เป็น?สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ที่เกาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะช้างมีโรงแรมและรีสอร์ตมากมาย ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำ และด้วยภูมิประเทศที่มีป่าเขาอยู่กลางเกาะ นักท่องเที่ยวจึงสามารถท่องเที่ยวแบบเดินป่า ขี่ช้างก็ได้เช่นกัน

                                                               อันดับ 4 เกาะสมุย




เกาะสมุย เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่อง เที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ
หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม นอกจากธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอเกาะสมุยแล้ว ยังมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คือ “สปา” หรือการดูแลรักษาสุขภาพโดยการใช้น้ำบำบัด เช่น การอาบ-การแช่น้ำแร่หรือน้ำร้อน

                                                          อันดับ 3 หมู่เกาะพีพี



อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่

                                                      อันดับที่ 2 หมู่เกาะสิมิลัน




อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

                                                        อันดับ 1 หาดป่าตอง



หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็น สถาน ที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด
หาด ป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547ปัจจุบัน หาดป่าตองเป็นหนึ่งในชายหาดสำคัญที่ได้รับการติดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ มีการซักซ้อมการอพยพและการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ

สถานที่ที่น่าท่องเที่ยวในนอร์เวย์

ประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีธรรมชาติที่สวยงามอยู่มาก แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้จักประเทศนอร์เวย์ในมุมประเทศหรือเมืองของการท่องเที่ยว แต่ด้วยเพราะประเทศนอร์เวย์ เรามีทรัพยากรที่เพียงพอ เรามีก๊าซธรรมชาติ เรามีน้ำมัน เรามีปลาแซลมอนที่ดีที่สุดส่งออก เราจึงมีเพียงพอโดยที่ประเทศไม่ต้องพึ่งเงินเข้าประเทศด้วยเงินจากการท่องเที่ยว เพราะเมื่อที่ใดๆก็ตามที่ถูกทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สภาพของแหล่งน้ันก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

 Lysafjord เป็นอ่าวแคบๆที่โอบล้อมด้วยภูเขาสูงชัน หนึ่งในนั้นคือภูเขาสูงกว่า 600 เมตร ที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Pulpit Rock ลักษณะเป็นหน้าผาแท่งสี่เหลี่ยม มีลานขนาดใหญ่ตั้งตระหง่าน และจะต้องออกแรงเดินเท้าขึ้นไปใช้เวลาประมาณ 2 ชม.ค่ะ

 Sognefjord เป็นฟยอร์ด ที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งทอดตัวคดเคี้ยวเป็นระยะทางยาวถึง 204 กิโลเมตรร และมีบริเวณที่ลึกที่สุดถึง 1300 เมตร นับเป็นฟยอร์ดที่มีความยาวและลึกที่สุดในโลกค่ะ
                                     
ถนนที่สวยที่สุดในโลก(The Atlantic Road) ที่อยู่ที่เมือง คริสเตียนซุนด์(Kristiansund)ประเทศนอร์เวย์ค่ะ นี่เป็นถนนข้ามมหาสมุทรสายแรกของโลก




จีนเปิดสะพานแขวนใหญ่

การเปิดตัวสะพานแขวนลอยฟ้า ที่มณฑลเหอหนาน เมืองเซียงซี ประเทศจีน ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นสะพานลอยฟ้าแห่งแรกของโลก สามารถขับรถยนต์จากเมืองฉางซาไปยังเมืองฉงชิ่ง โดยข้ามสะพานแห่งนี้ใช้เวลาประมาณเพียง 8 ชั่วโมง
โดยสะพานแห่งนี้สูงจากระดับพื้นกว่า 355เมตร เทียบเท่ากับตึกสูง100 ชั้น ความยาวของสะพานอยู่ที่ 1176 เมตร ถือเป็นสะพานเชื่อมหุบเขาที่ใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน ซึ่งในวันเปิดตัวสะพานแขวนแห่งนี้ประชาชน สื่อมวลชน ช่างภาพต่างให้ความสนใจมาเยี่ยมชมกันอย่างมากมาย

สะพานแขวนใหญ่ไอ่ไจ้ นี้ นับเป็นสะพานแขวนลอดอุโมงค์ระหว่างหุบเขา ที่ยาวที่สุด และยังอยู่สูงจากพื้นดินที่สุดในโลก ซึ่งได้เปิดสะพานฯ ให้รถสัญจร อย่างเป็นทางการแล้ว โดยต้องสร้างเชื่อมหุบเขา 2 จุด ในหุบเขาเต่อฮัง มณฑลหูหนาน ด้วยสะพานซึ่งมีระยะทาง 1,176 เมตi
       สะพานนี้อยู่สูงจากพื้นดิน 355 เมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงจื่อโจว-ฉาต่ง ซึ่งมีระยะทาง 64 กิโลเมตร ลัดเลาะไปตามหุบเขามากมาย เจาะผ่านเขาเป็นอุโมงค์ถึง 18 แห่ง อันมีระยะทางรวมของส่วนที่เป็นอุโมงค์ ยาวเกือบครึ่งหนึ่งของทางหลวงเส้นนี้ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทาง และความเสี่ยงอันตรายจากถนนแคบและโค้งหักศอกจำนวนมากของทางหลวงเก่า โดยการเดินทางด้วยเส้นทางหลวงใหม่นี้ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง จากเดิมที่นานกว่า 5 ชั่วโมง
       



       ทั้งนี้ สะพานแห่งนี้ ได้เปิดทดลองใช้เมื่อวันตรุษจีนที่ผ่านมา และผู้ที่ใช้เส้นทางหลวงใหม่นี้กล่าวว่า สะดวกสบาย และรื่นรมย์มาก เพราะทางหลวงฯ นี้ วิ่งไปตามหุบเขาตลอด 64 กิโลเมตร และยังลอดอุโมงค์ยาวจำนวนนับสิบ ก่อนจะพบจุดน่าทึ่งที่สุดตรง สะพานแขวนใหญ่ไอ่ไจ้ ซึ่งทิวทัศน์และประสบการณ์บนสะพานนี้ ไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้ว

แบบจำลองฐานข้อมูล (Data Model) 25/6/12

แบบจำลองฐานข้อมูล (Data Model)แบบจำลองฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 แบบ คือ
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Model) เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา หรือที่เรียกว่า เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type)
คุณสมบัติของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น
1. Record ที่อยู่ด้านบนของโครงสร้างหรือพ่อ(Parent Record) นั้นสามารถมีลูกได้มากกว่าหนึ่งคน แต่ลูก (Child Record) จะไม่สามารถมีพ่อได้มากกว่า 1 คนได้
2. ทุก Record สามารถมีคุณสมบัติเป็น Parent Record(พ่อ) ได้
3. ถ้า Record หนึ่งมีลูกมากกว่าหนึ่ง Record แล้ว การลำดับความสัมพันธ์
ของ Child Record จะลำดับจากซ้ายไปขวา
ลักษณะเด่น
• เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีระบบโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
• มีค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างฐานข้อมูลน้อย
• ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย
• เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
• ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี เนื่องจากต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน
ข้อเสีย
• Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
• มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
• มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
• หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Model) - ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1 และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว
- ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห
ข้อดี
• ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
• สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับ ได้
• สะดวกในการค้นหามากกว่าลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เพราะไม่ต้องไปเริ่มค้นหาตั้งแต่ข้อมูลต้นกำเนิดโดยทางเดียว และการค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มากและกว้างกว่าโครงสร้างแบบลำดับชั้น

3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Model) เป็นการจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือมี แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะใช้ Attribute ที่มีอยู่ทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
ข้อดี
• เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
• ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี
• การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้
ข้อเสีย
• มีการแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลได้ยากเพราะผู้ใช้จะไม่ทราบการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร
• มีค่าใช้จ่ายของระบบสูงมากเพราะเมื่อมีการประมวลผลคือ การอ่าน เพิ่มเติม ปรับปรุงหรือยกเลิกระบบจะต้องทำการสร้างตารางขึ้นมาใหม่ ทั้งที่ในแฟ้มข้อมูลที่แท้จริงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object Oriented Model)

• ใช้ในการประมวลผลข้อมูลทางด้านมัลติมีเดีย คือ มีข้อมูลภาพ และเสียง หรือข้อมูลแบบมีการเชื่อมโยงแบบเว็บเพจ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับ Relation Model
• มองสิ่งต่างๆ เป็น วัตถุ (Object)

5. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์ (The Object-Relational  Database Model)
สร้างขึ้นเพื่อให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถเพิ่มคุณสมบัติของแบบจำลองเชิงวัตถุเข้าไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในด้านการออกแบบข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างชนิดข้อมูลที่กำหนดเองได้

วัตถุประสงค์ของแบบจำลองข้อมูล• เพื่อนำแนวคิดต่างๆ มาเสนอให้เกิดเป็นแบบจำลอง
• เพื่อนำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่นเดียวกันการดูแปลนบ้านที่จะทำให้เราเข้าใจโครงสร้างบ้านได้เร็ว
• เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบฐานข้อมูลกับผู้ใช้ให้ตรงกัน
ประเภทของแบบจำลองข้อมูล
• ประเภทของแบบจำลองข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Conceptual Models คือ แบบจำลองแนวคิดที่ใช้พรรณนาลักษณะโดยรวมของข้อมูลทั้งหมดในระบบ โดยนำเสนอในลักษณะของแผนภาพ ซึ่งประกอบด้วยเอนทีตีต่างๆ และความสัมพันธ์ โดยแบบจำลองเชิงแนวคิดนี้ต้องการนำเสนอให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งาน คือเมื่อเห็นภาพแบบจำลองดังกล่าวก็จะทำให้เข้าถึงข้อมูลชนิดต่างๆ
2. Implementation Models เป็นแบบจำลองที่อธิบายถึงโครงสร้างของฐานข้อมูล

คุณสมบัติของแบบจำลองข้อมูลที่ดี
• 1. ง่ายต่อความเข้าใจ
• 2. มีสาระสำคัญและไม่ซ้ำซ้อน หมายถึง แอตทริบิวต์ในแต่ละเอนทีตี้ไม่ควรมีข้อมูลซ้ำซ้อน
• 3. มีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับปรุงในอนาคต กล่าวคือแบบจำลองข้อมูลที่ดีไม่ควรขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันโปรแกรม และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ นั่นคือความเป็นอิสระในข้อมูล

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจหรือเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรง




สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวอีกแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของประเทศต่าง ๆ เช่นกัน เพราะไม่ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจหรือเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงของประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็อาจจะกระทบไปถึงประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิกฤติยูโรโซนที่ประเทศกรีซที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ แม้จะห่างไกลจากประเทศไทย แต่ก็จะส่งผลให้ประเทศไทย รวมทั้งประเทศชาติมหาอำนาจเกิดวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจติดตามมาได้ ดังนั้นชาติมหาอำนาจในยูโร รวมถึงสหรัฐอเมริกาได้พยายามหาหนทางที่จะช่วยกันแก้ไขวิกฤติยูโรโซน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายสะเทือนไปทั้งโลก

นอกจากประเทศไทยแล้วคาดว่าอีกหลาย ๆ ประเทศคงจะได้มีการเตรียมแผนในการรับมือวิกฤติยูโร แม้ว่าประเทศกรีซจะได้รัฐบาลใหม่มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ประชาชนได้เลือกตั้งเข้ามาให้แก้ไขวิกฤติของชาติ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้สังคมโลกรู้ว่าชาวกรีกไม่ต้องการให้ออกจากสหภาพยุโรป แต่คาดว่าการแก้ไขวิกฤติดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าปัญหาจะคลี่คลายลงไป เป็นที่น่ายินดีที่นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมรับมือจากวิกฤติยูโรโซน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมภาคส่งออก ทั้งสิ่งทอ และอีกหลายอย่าง มาหารือร่วมกันว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลืออย่างไรบ้างในเหตุวิกฤติที่เกิดขึ้นที่ยูโรโซน


การเตรียมการแก้ไขเหตุจากปัญหาภายนอกที่จะมากระทบกับภายในประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องอีกเรื่องเช่นกันที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาวิกฤติยูโรที่คู่ขนานกับปัญหาเศรษฐกิจของไทย โดยจะแก้ไขปัญหาภายในประเทศก่อน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีหรือธุรกิจอื่น ๆ ที่ประสบปัญหา ถึงแม้ว่ารัฐบาลไม่ตั้งอยู่ในความประมาทก็ตาม เพราะเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งที่วิกฤติยูโรโซนจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่ก็ไม่ควรที่จะคลายความประมาทลงไป ควรจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันทีโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจของไทยเสียหายมากเกินไป

เหตุวิกฤติทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนโลกนี้ย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประชาคมโลกก็พยายามหาทางร่วมมือกันช่วยเหลือมิให้วิกฤติของประเทศนั้นขยายตัวออกไปจนพังไปทั้งหมด ยิ่งประเทศไหนที่มีวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองพร้อม ๆ กัน ก็อาจทำให้การแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองเป็นไปด้วยความยากลำบาก สำหรับประเทศไทยขณะนี้ประชาชนรู้กันดีว่ามีปัญหาทางการเมืองมากกว่าปัญหาเศรษฐกิจ แต่ถ้าทุกฝ่ายที่รักชาติกันทุกคนได้มองถึงประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ สถานการณ์ทั้งภายในและผลกระทบจากภายนอกก็จะไม่ส่งผลให้ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนเดือดร้อน.

NASA : ขอใช้สนามบินอู่ตะเภา

กรณีองค์การนาซาสหรัฐอเมริกาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา อ.สัตหีบ จ.ระยอง เพื่อจอดอากาศยาน และบินขึ้นตรวจสภาพอากาศ อันเป็นการดำเนินตามโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า จำเป็นต้องนำเข้ารัฐสภาเพื่อผ่านความเห็นชอบ ตามมาตรา 190วรรคสอง หรือไม่ แม้ว่ากรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจะเห็นว่า ไม่เข้าข่ายในมาตรา 190 วรรคสอง แต่เป็นมาตรา 190 วรรคหนึ่ง คือผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก็เพียงพอแล้ว

ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานประชุมร่วมกับผู้นำเหล่าทัพและผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจากเกรงกระทบต่อความมั่นคง ขณะที่องค์การนาซาอ้างเหตุผล ดาวเทียมยุทธศาสตร์อยู่ใกล้บริเวณศรีราชา จึงต้องใช้สนามบินอู่ตะเภาซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน การตรวจฝุ่นละออง เมฆ ส่วนใหญ่จะสำรวจพื้นที่ที่อยู่บริเวณทะเล และการใช้เครื่องบินจำเป็นต้องใช้ทางวิ่งที่ยาวมาก จึงต้องใช้สนามบินอู่ตะเภา ส่วน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ยืนยันไม่ใช่การเข้ามาตั้งฐานทัพอย่างที่
คิดกัน เพราะนาซากับกองทัพสหรัฐเป็นคนละเรื่องกัน

มาตรา 190 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา” นั่นเท่ากับว่าหากการลงนามนั้นเกี่ยวข้องกับการ “ผูกพันรัฐกับสัญญา” ใด ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ประเด็นที่ตามมาก็คือ ยังไม่สามารถชี้ขาดได้ว่า กรณีดังกล่าวเข้ากับมาตรา 190 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และเมื่อชี้ขาดแล้วจะเป็นที่ยอมรับกันหรือไม่ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับร่างรัฐธรรมนูญวาระสามที่เกิด “ทางตัน” ในขณะนี้ เพราะไม่ทราบว่า จะดำเนินการตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการพิจารณาออกไป  หรือดำเนินการตามความเห็นของอัยการสูงสุด กลายเป็นปัญหาข้อกฎหมายหาทางออกไม่ได้ เกิดวิกฤติการณ์ดุลอำนาจอย่างที่เห็นกัน จึงเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องตัดสินใจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อบริบทการเมืองภายในประเทศอย่างแน่นอน.
เป็นการเปิดเผยของ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีต่างประเทศ ว่าสถานทูตสหรัฐฯ ส่งหนังสือขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ "นาซ่า" ที่ขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานปฏิบัติงานโครงการศึกษาสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงกระทรวงต่างประเทศ เพื่อขอคำตอบว่าจะอนุญาตหรือไม่ภายใน 26 มิถุนายน ไม่เช่นนั้นจะยกเลิก เพราะจำเป็นต้องเตรียมการ และติดตั้งอุปกรณ์ก่อนเริ่ม

ดังนั้นรัฐบาลจึงเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์กับไทย และไม่กระทบความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน รวมทั้งกับจีนด้วย

เช่นเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ระบุเรื่องนี้ไม่กระทบความมั่นคง อีกทั้งจีนและประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้เป็นกังวล เพราะเป็นเพียงการสำรวจเมฆและชั้นบรรยากาศ ที่เป็นประโยชน์โดยรวมกับทุกประเทศ

ส่วน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงโครงการอย่างละเอียด ตรงไปตรงมา เพื่อตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ แทนที่จะหาหลักฐานกล่าวหารัฐบาลที่แล้วไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเช่นกัน

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

ระบบพิกัด UTM คือระบบพิกัดฉากบนระนาบที่ได้จากการฉายแผนที่แบบ UTM (Universal Transverse Mercator)      โดยการฉายแผนที่แบบ UTM คือการฉายแบบ Transverse Mercator ที่มีข้อกำหนดนานาชาติเกี่ยวกับลักษณะของการฉาย เช่น การเลือกตำแหน่ง Central Meridian สำหรับแต่ละพื้นที่บนโลก การแบ่งพื้นที่บนโลกออกเป็นโซนต่าง ๆ     การกำหนดขอบเขตของการฉายของแต่ละโซน เป็นต้น    
ข้อกำหนดโดยทั่วไปของการฉายแผนที่แบบ Transverse Mercator ซึ่งเป็นพื้นฐานของ UTM มีดังนี้       Datum : Local Datum      
Projection Surface : Cylinder
Coincidence : Secant 
Position : Transverse
Property : Conformal
                            

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 
6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร  โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก  ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน  โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก

 

UTM Zone ในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48 
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง
ทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 

- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
 
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)
 


คัดลอก:หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553

world01thai“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด 
  
ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านGlobe4Kids12532ตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช

เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา  2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที

ที่มาและความสำคัญของละติจูดและลองติจูด

ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก โดยขั้วโลกแต่ละขั้วจะมีค่าละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น

ละติจูด (อังกฤษ: Latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (Weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 องศา

พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates)

เป็นระบบอ้างอิงบนพื้นผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถกำหนดได้ด้วยค่าละติจูด( Latitude ) และลองจิจูด ( Longitude )



ละติจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน”
  2. ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด
  3. ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น
  4. จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
  5. เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
  6. ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)

ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช สหราชอาณาจักร เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะเรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)

ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริ เดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช


พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates)

เป็นระบบอ้างอิงบนพื้นผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถกำหนดได้ด้วยค่าละติจูด( Latitude ) และลองจิจูด ( Longitude )


ลองจิจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian)
  2. ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก ( Prime Meridian)
  3. การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจาก จุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า
  4. ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน
  5. ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle)
  6. ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของพิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป
ความสำคัญของละติจูดและลองติจูดในภูมิศาสตร์
การบอกตำแหน่งของวัตถุบนโลกแต่ละจุดนั้น มีหลักเกณฑ์การบอกตำแหน่งเป็นสากลคือเมื่อบอกตำแหน่งแล้วต้องสามารถมีความ
เข้าใจกันทุกชนชาติ โดยมีข้อตกลงกันว่าการบอกตำแหน่งบนโลกให้บอกเป็นบริเวณที่เส้นลองจิจูดและละติจูดตัดกัน
ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก ซึ่งระบุว่าตำแหน่งนั้นอยู่ตรงจุดที่ทำมุมเท่าไรกับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ละติจูด มีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (เป็น 90 องศาเหนือหรือใต้ วัดเป็นมุมจากเส้นศูนย์สูตรที่จนถึงแนวดิ่งที่ขั้วโลกเหนือ หรือลงไปจนดิ่งที่ขั้วโลกใต้) พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (weather) ต่างกัน เช่น แบ่งเป็นเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว
         
          ภูมิอากาศ คือ ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี) โดยปกติเมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศ จะระบุขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศตามละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น
                 ในแต่ละพื้นที่ รูปแบบของภูมิอากาศจะแตกต่างกัน โดยมีตัวชี้วัดของสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณภูมิสูง-ต่ำรายวัน ความชื้น จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดด การปกคลุมของเมฆ ความเร็วลม ทิศทางลม พลังงานแสงอาทิตย์ และลมพายุ
                 โดยทั่วไป การแบ่งโซนภูมิอากาศของโลก จะใช้เส้นละติจูด (ซึ่งเป็นเส้นตัดขวางแนวนอนรอบโลก) เป็นแนวในการแบ่ง โดยใช้เส้นละติจูด 4 เส้น (ไม่นับรวมเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง) คือเส้นทรอปปิค (Tropic) ซึ่งเป็นเส้นละติจูดที่ 23.5° และ 66.5° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร
      เส้นละติจูดสองเส้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรคือเส้น ;ทรอปิคออฟแคนเซอร์; (Tropic of Cancer) ที่อยู่ทางตอนเหนือ และเส้น ;ทรอปิคออกแคปริคอร์น; (Tropic of Capricorn) ที่อยู่ทางใต้ ซึ่งเส้นทรอบิคนี้เป็นระดับสูง-ต่ำสุดที่พระอาทิตย์อาจขยับขึ้นเหนือหรือลงใต้ได้ ในส่วนปลาย บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ-ใต้ ที่ละติจูด 66.5° เหนือและใต้ จะใช้เส้น ;อาร์คติดเซอร์เคิล; (Arctic Circle) และ ;แอนตาร์คติดเซอร์เคิล; (Antarctic Circle) ตามลำดับ เป็นแนวแบ่งโซนภูมิอากาศ
         ข้อมูล: www. seal 2 thai.org
                   www. wt.ac.th
                   www.greennet.or.th

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห้นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิด
และถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว





อาการของโรค

เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง
ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
แล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
สำหรับการสังเกตแบ่งได้เป้นข้อ ๆ ดังนี้นะ

1. อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป้นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด
แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง

2. อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย
กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น
ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"

3. อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น

4. อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น

5. อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห้นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้มพับในเวลาต่อมา



การแพร่ระบาด

เป็นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง
สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้




การป้องกัน
1. ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป
2. ถ้าพบกระถางไหนที่เป็นโรค ต้องทำลายเสีย (แต่บางสวนมักนำมาขายต่อในราคาถูก)
3.ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่ติดแล้ว ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้โคโค-แม็กซ์ ป้องกันป้ายบริเวณแผล
4. ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น
ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา
5. ใช้โคโค-แม็กซ์ ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน อัตรา 3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็นหลังบ่าย 3 โมงเย็น



GIS 15/6/2012

GIS a computerized database management system for Capture,Storage,Retrieval,Analysis and Display of Spatial (Locationally Defind) Data (NCGIA : National Center Geographic Information and Analysis,1998)

GIS เป็นการจัดการระบบด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสำรวจข้อมูลระยะไกล

การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) หมายถึง เป็นวิทยาศาสตร์และศิลป์ของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่หรือปรากฏการณ์ จากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ  คือ ช่วงคลื่น (Spectral) รูปของสัณฐานโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal)  การสำรวจข้อมูลระยะไกลประกอบด้วย 2 กระบวนการ
  
1. การรับข้อมูล (Data Acquisition) โดยอาศัย
          - แหล่งพลังงาน คือ ดวงอาทิตย์
          - การเคลื่อนที่ของพลังงาน
          - ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับพื้นโลก
          - ระบบการบันทึกข้อมูล
          - ข้อมูลที่ได้รับทั้งในแบบข้อมูลเชิงตัวเลขและรูปภาพ
   
2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ประกอบด้วย
   
2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา (Visual Interpretation)
                    การแปลตีความข้อมูลภาพจากดาวเทียมด้วยสายตาข้อมูลที่นำมาแปลตีความหรือจำแนกประเภทข้อมูลภาพจากดาวเทียมด้วยตา เป็น ข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพพิมพ์หรือฟิล์ม โดยภาพแต่ละช่วงคลื่นของการบันทึกภาพ อยู่ในลักษณะขาวดำจึงยากต่อการแปลตีความหมาย ด้วยสายตา การเลือกใช้ภาพสีผสม ซึ่งได้มีการเน้นข้อมูลภาพ (Enhancement) ให้สามารถจำแนกประเภทข้อมูลได้ชัดเจนและง่ายขึ้นนั้น สามารถทำได้โดยกำหนดสีของแต่ละช่วงคลื่นเลียนแบบระบบธรรมชาติ แล้วนำภาพที่ได้ให้แสงสีแล้วนี้ มารวมกัน 3 ภาพ (3 ช่วงคลื่น) เพื่อให้เกิดเป็นภาพสีผสมขึ้น ในช่วงคลื่นสั้นและยาว โดยใช้แสงสีน้ำเงิน เขียวและแดง ตามลำดับของแสงช่วงคลื่นที่สายตาสามารถมองเห็น จึงถึงช่วงคลื่นอินฟาเรด ภาพสีผสมที่ปรากฏให้เห็น คือ พืชพรรณ ต่างๆ จะปรากฏเป็นสีแดงหรือสีเขียว เนื่องจากปฏิกิริยาการสะท้อนสูง ที่คลื่นช่วงยาว ภาพที่พืชปรากฏสีแดง เรียกว่า ภาพสีผสมเท็จ (False Colour Composite – FCC) และภาพที่พืชปรากฏเป็นสีเขียว เรียกว่า ภาพผสมจริง (True Colour)
                องค์ประกอบในการแปลและตีความภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา
                 1. สีและระดับความเข้มของสี (Colour tone and brightness)
                 2. รูปร่าง (Shape)
                 3. ขนาด (Size)
                 4. รูปแบบ (Pattern)
                 5. ความหยาบละเอียดของเนื้อภาพ (Texture)
                 6. ความสัมพันธ์กับตำแหน่งและสิ่งแวดล้อม (Location and Association)
                 7. การเกิดเงา (Shadow)
                 8. การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Temporal change)
                 9. ระดับสี (Tone)
                    นอกจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว สิ่งที่จะช่วยในการแปลความหมายได้ถูกต้องมากขึ้นได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศและการเลือกภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสม
              หลักการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา ควรดำเนินการแปลและตีความจากสิ่งที่เห็นได้ง่าย ชัดเจนและคุ้นเคยเสียก่อนแล้วจึงพยายามวินิจฉัยในสิ่งที่จำแนกได้ยาก ไม่ชัดเจนในภายหลัง หรือเริ่มจากระดับหยาบๆก่อนแล้วจึงแปลในรายละเอียดที่หลัง
     
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (Digital Analysis)
                   วิธีการจำแนกข้อมูลดาวเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่
                    2.2.1 การจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) เป็นวิธีการจำแนกข้อมูลภาพซึ่งจะต้องประกอบด้วยพื้นที่ฝึก (Training areas) การจำแนกประเภทของข้อมูลเบื้องต้น โดยการคัดเลือกเกณฑ์ของการจำแนกประเภทข้อมูล และกำหนดสถิติของของประเภทจำแนกในข้อมูล จากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งภาพ และรวบรวมกลุ่มชั้นประเภทจำแนกสถิติคล้ายกันเข้าด้วยกัน เพื่อจัดลำดับขั้นข้อมูลสุดท้าย นอกจากนี้แล้วก็จะมีการวิเคราะห์การจำแนกประเภทข้อมูลลำดับสุดท้าย หรือตกแต่งข้อมูลหลังจากการจำแนกประเภทข้อมูล (Post-classification)
                    2.2.2 การจำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised Classification)
เป็นวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ไม่ต้องกำหนดพื้นที่ฝึกของข้อมูลแต่ละประเภทให้กับคอมพิวเตอร์ มักจะใช้ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในพื้นที่ที่การจำแนก หรือผู้ปฏิบัติไม่มีความรู้ความเคยชินในพื้นที่ที่ศึกษา วิธีการนี้สามารถทำได้โดยการสุ่มตัวอย่างแบบคละ แล้วจึงนำกลุ่มข้อมูลดังกล่าวมาแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
ประโยชน์ของ Remote sensing
                 การใช้เทคนิค Remote sensing ช่วยให้การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องออกเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง และยังให้ ความถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้บริเวณซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ของพื้นที่สามารถแสดงผลออกทางจอภาพ และจัดทำแผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานได้ทันที ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานมาก ทำให้การศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น ทรัพยากร ปลูกสร้าง ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
คุณสมบัติของภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
                 การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง (Synoptic view) ภาพจากดาวเทียมภาพหนึ่งๆ ครอบคลุมพื้นที่กว้างทำให้ได้ข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องในระยะเวลาบันทึกภาพสั้นๆ สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ ในบริเวณกว้างขวางต่อเนื่องในเวลาเดียวกันทั้นภาพ เช่น ภาพจาก LANDSAT MSS และ TM หนึ่งภาพคลุมพื้นที่ 185X185 ตร.กม. หรือ 34,225 ตร.กม. ภาพจาก SPOT คลุมพื้นที่ 3,600 ตร.กม. เป็นต้น
                 การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีระบบกล้องสแกนเนอร์ ที่บันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่นในบริเวณเดียวกัน ทั้งในช่วงคลื่นที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และช่วงคลื่นนอกเหนือสายตามนุษย์ ทำให้แยกวัตถุต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้อย่างชัดเจน เช่น ระบบ TM มี 7 ช่วงคลื่น เป็นต้น
                 การบันทึกภาพบริเวณเดิม (Repetitive coverage) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีวงโคจรจากเหนือลงใต้ และกลับมายังจุดเดิมในเวลาท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น LANDSAT ทุก ๆ 16 วัน MOS ทุกๆ 17 วัน เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลบริเวณเดียวกันหลายๆ ช่วงเวลาที่ทันสมัยสามารถเปรียบเทียบและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสที่จะได้ข้อมูลไม่มีเมฆปกคลุม
                 การให้รายละเอียดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ มีผลดีในการเลือกนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น ภาพจากดาวเทียม SPOT ระบบ PLA มีรายละเอียด 10 ม. สามารถศึกษาตัวเมือง เส้นทางคมนาคมระดับหมู่บ้าน ภาพสีระบบ MLA มีรายละเอียด 20 ม. ศึกษาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เฉพาะจุดเล็กๆ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก และภาพระบบ TM รายละเอียด 30 ม. ศึกษาสภาพการใช้ที่ดินระดับจังหวัด เป็นต้น
                 ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ภาพสีผสม (False color composite) ได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการขยายรายละเอียดเฉพาะเรื่องให้เด่นชัดเจน สามารถจำแนกหรือมีสีแตกต่างจากสิ่งแวดล้อม
การเน้นคุณภาพของภาพ (Image enhancement) ภาพจากดาวเทียมต้นฉบับสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนค่าความเข้ม ระดับสีเทา เพื่อเน้นข้อมูลที่ต้องการศึกษาให้เด่นชัดขึ้น

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้าน 11/06/2012

Spatial Distribution

เป็นการกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจุกตัวหรือกระจายตัวในบริเวณกว้างๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆว่าจะกระจายหรือกระจุกตัวในลักษณะอย่างไร เช่น การกระจายตัวของผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย การกระตัวของประชากร การกระจายตัวของภัยแล้ง เป็นต้น
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
Spatial Differentiation

ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นทีเช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา

 
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

Spatial Diffusion การแพร่กระจายเชิงพื้นที่

หมายถึง การที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจายหรือเป็นการจายพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งอาจเป็นการอพยพการย้ายถิ่นฐานหรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น การแพร่กระจายของกลุ่มควันที่เกิดจากกาะปะทุของภูเขาไฟทั่วน่านฟ้า                   ประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
 Spatial Interaction  ปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่

 เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณที่มีป่าใหญ่ก็จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เยอะ หรือ บริเวณใดที่มีแหล่งขนาดใหญ่ก็จะมีปลาหลายชนิดอาศัยอยู่


ÿÿÿÿÿÿÿÿÿÿxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

Spatial Temporal ช่วงเวลาในพื้นที่

ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการแบ่งเวลาในแต่ล่ะประเทศ

 

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Geographic Information System

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน