วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

ระบบพิกัด UTM คือระบบพิกัดฉากบนระนาบที่ได้จากการฉายแผนที่แบบ UTM (Universal Transverse Mercator)      โดยการฉายแผนที่แบบ UTM คือการฉายแบบ Transverse Mercator ที่มีข้อกำหนดนานาชาติเกี่ยวกับลักษณะของการฉาย เช่น การเลือกตำแหน่ง Central Meridian สำหรับแต่ละพื้นที่บนโลก การแบ่งพื้นที่บนโลกออกเป็นโซนต่าง ๆ     การกำหนดขอบเขตของการฉายของแต่ละโซน เป็นต้น    
ข้อกำหนดโดยทั่วไปของการฉายแผนที่แบบ Transverse Mercator ซึ่งเป็นพื้นฐานของ UTM มีดังนี้       Datum : Local Datum      
Projection Surface : Cylinder
Coincidence : Secant 
Position : Transverse
Property : Conformal
                            

การแบ่ง Zone ในระบบ UTM

พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 
6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร  โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก  ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน  โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง   Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก

 

UTM Zone ในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48 
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง
ทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร 

- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
 
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น