วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ที่มาและความสำคัญของละติจูดและลองติจูด

ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก โดยขั้วโลกแต่ละขั้วจะมีค่าละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น

ละติจูด (อังกฤษ: Latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (Weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 องศา

พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates)

เป็นระบบอ้างอิงบนพื้นผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถกำหนดได้ด้วยค่าละติจูด( Latitude ) และลองจิจูด ( Longitude )



ละติจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน”
  2. ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด
  3. ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น
  4. จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
  5. เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
  6. ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)

ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช สหราชอาณาจักร เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะเรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)

ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริ เดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช


พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates)

เป็นระบบอ้างอิงบนพื้นผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถกำหนดได้ด้วยค่าละติจูด( Latitude ) และลองจิจูด ( Longitude )


ลองจิจูด

  1. เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian)
  2. ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก ( Prime Meridian)
  3. การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจาก จุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า
  4. ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน
  5. ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle)
  6. ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของพิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป
ความสำคัญของละติจูดและลองติจูดในภูมิศาสตร์
การบอกตำแหน่งของวัตถุบนโลกแต่ละจุดนั้น มีหลักเกณฑ์การบอกตำแหน่งเป็นสากลคือเมื่อบอกตำแหน่งแล้วต้องสามารถมีความ
เข้าใจกันทุกชนชาติ โดยมีข้อตกลงกันว่าการบอกตำแหน่งบนโลกให้บอกเป็นบริเวณที่เส้นลองจิจูดและละติจูดตัดกัน
ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก ซึ่งระบุว่าตำแหน่งนั้นอยู่ตรงจุดที่ทำมุมเท่าไรกับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ละติจูด มีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (เป็น 90 องศาเหนือหรือใต้ วัดเป็นมุมจากเส้นศูนย์สูตรที่จนถึงแนวดิ่งที่ขั้วโลกเหนือ หรือลงไปจนดิ่งที่ขั้วโลกใต้) พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (weather) ต่างกัน เช่น แบ่งเป็นเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว
         
          ภูมิอากาศ คือ ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี) โดยปกติเมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศ จะระบุขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศตามละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น
                 ในแต่ละพื้นที่ รูปแบบของภูมิอากาศจะแตกต่างกัน โดยมีตัวชี้วัดของสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณภูมิสูง-ต่ำรายวัน ความชื้น จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดด การปกคลุมของเมฆ ความเร็วลม ทิศทางลม พลังงานแสงอาทิตย์ และลมพายุ
                 โดยทั่วไป การแบ่งโซนภูมิอากาศของโลก จะใช้เส้นละติจูด (ซึ่งเป็นเส้นตัดขวางแนวนอนรอบโลก) เป็นแนวในการแบ่ง โดยใช้เส้นละติจูด 4 เส้น (ไม่นับรวมเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง) คือเส้นทรอปปิค (Tropic) ซึ่งเป็นเส้นละติจูดที่ 23.5° และ 66.5° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร
      เส้นละติจูดสองเส้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรคือเส้น ;ทรอปิคออฟแคนเซอร์; (Tropic of Cancer) ที่อยู่ทางตอนเหนือ และเส้น ;ทรอปิคออกแคปริคอร์น; (Tropic of Capricorn) ที่อยู่ทางใต้ ซึ่งเส้นทรอบิคนี้เป็นระดับสูง-ต่ำสุดที่พระอาทิตย์อาจขยับขึ้นเหนือหรือลงใต้ได้ ในส่วนปลาย บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ-ใต้ ที่ละติจูด 66.5° เหนือและใต้ จะใช้เส้น ;อาร์คติดเซอร์เคิล; (Arctic Circle) และ ;แอนตาร์คติดเซอร์เคิล; (Antarctic Circle) ตามลำดับ เป็นแนวแบ่งโซนภูมิอากาศ
         ข้อมูล: www. seal 2 thai.org
                   www. wt.ac.th
                   www.greennet.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น