วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห้นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิด
และถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว





อาการของโรค

เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง
ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
แล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
สำหรับการสังเกตแบ่งได้เป้นข้อ ๆ ดังนี้นะ

1. อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป้นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด
แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง

2. อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย
กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น
ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"

3. อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น

4. อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น

5. อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห้นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้มพับในเวลาต่อมา



การแพร่ระบาด

เป็นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง
สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้




การป้องกัน
1. ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป
2. ถ้าพบกระถางไหนที่เป็นโรค ต้องทำลายเสีย (แต่บางสวนมักนำมาขายต่อในราคาถูก)
3.ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่ติดแล้ว ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้โคโค-แม็กซ์ ป้องกันป้ายบริเวณแผล
4. ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น
ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา
5. ใช้โคโค-แม็กซ์ ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน อัตรา 3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็นหลังบ่าย 3 โมงเย็น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น